วัดชะแล้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นหนึ่งในวัดโบราณของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เทียบเคียงวัดพะโคะ ซึ่งตามประวัติก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 1999 ทำให้มีอายุจนถึงปัจจุบัน 551 ปี นับได้ว่ามีความเก่าแก่เป็นอันดับสองรองจากวัดพะโคะ วัดชะแล้มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนในตำบลให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากคือ โบสถ์เขาตก ท่านสมภารปาน เจ้าอาวาสวัดชะแล้ รูปที่ ๕ ได้ค้นพบเมื่อประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๐๗ ในสมัยนั้นบริเวณเนินเขาทิศตะวันตกมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่มาก ไม่มีคนกล้าขึ้นไปเพราะเป็นเนินเขาที่เปลี่ยว กอรปกับทางด้านทิศตะวันตกของเนินเขาเป็นที่ฝังศพของมุสลิมในอดีต คนไม่กล้าขึ้นไปบนเนินนี้ ท่านเจ้าอาวาส จึงได้ชักชวนประชาชนขึ้นไปแผ้วถางตัดแต่งต้นไม้ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อถางไปก็พบเศียรพระพุทธรูปโผล่อยู่บนดิน จึงช่วยกันขุดดินออกจึงพบพระพุทธรูปที่สมบูรณ์ ได้นำมาทำความสะอาด และประดิษฐานไว้ ภายหลังสร้างวิหารคลุม ประชาชนจึงเรียกชื่อของพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระโบสถ์ตก ต่อมามีพระภิกษุที่จำพรรษา ชื่อ ภิกษุอ้น ได้ก่อพอกปูนโอบองค์พระพุทธรูปให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้าง ๔ ศอกเท่าขนาดปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปในตำบลชะแล้จะให้ความเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธรูปนี้เป็นอย่างมาก มีความเชื่อในเรื่องการบนบาน การขอให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ
ตำนาน คำเล่า ที่เกี่ยวกับโบราณสถานบริเวณวัดชะแล้
พระบรมธาตุสุวรรณคีรีเจดีย์วัดชะแล้ และ ถ้ำนางทอหูก
พระบรมธาตุสุวรรณคีรีเจดีย์วัดชะแล้ มีประวัตที่น่าจะเทียบเคียงได้กับเจดีย์ของวัดสทิงพระ วัดพะโคะ และ วัดเขียนบางแก้ว โดยเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ คาดว่าจะมีอายุประมาณ 600 ปี (คำนวณจากรูปทรงก่อสร้างและโบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณเจดีย์องค์เก่า เช่น พระพุทธรูปสมัยลพบุรี ฯ) เมื่อ พ.ศ. 2512 สมัยของท่านสมภารแดงเป็นเจ้าอาวาส ได้ให้นาค (ผู้ที่รอบวชซึ่งต้องมาอยู่ที่วัด) จำนวนหนึ่งขึ้นไปถางต้นไม้บริเวณยอดเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์ พวกนาคเหล่านั้นจึงได้ขุดคุ้ยกองอิฐซึ่งเป็นเจดีย์องค์เก่าที่พังลงมา (หรืออาจก่อสร้างไม่เสร็จ) และได้รื้อลงไปในฐานรากของกองอิฐนั้นได้พบขันใบใหญ่ที่บรรจุพระพุทธรูปทองคำ แหวน เพชรพลอยทั้งที่ได้เจียรนัยเป็นหัวแหวนแล้ว และที่เป็นเม็ดเดิม ๆ รวมไปถึงเจดีย์แก้ว 3 ส่วนที่ถอดประกอบได้และส่วนกลางได้บรรจุเศษกระดูกซึ่งเชื่อว่าเป็นธาตุพระ เมื่อเป็นข่าวกระจายออกไปในตอนเย็นวันนั้นก็มีชาวบ้านพากันขึ้นไปขุดค้นหาสมบัติที่บริเวณนั้น โดยเชื่อว่าเป็น